หน้าแรก » ข่าวเศรษฐกิจ สังคม » Young Smart Farmer ว่าที่ ร.ต.วรพล พานทอง เกษตรกรหนุ่มจากไร่ “พานทอง พอเพียง” อำเภอปางศิลาทออง จังหวัดกำแพงเพชร เรียนจบหันมาเอาดีทางเกษตรเมินมนุษย์เงินเดือน..มาเป็นมนุษย์เงินดินรายได้ต่อเดือน 2- 3 หมื่นบาท

Young Smart Farmer ว่าที่ ร.ต.วรพล พานทอง เกษตรกรหนุ่มจากไร่ “พานทอง พอเพียง” อำเภอปางศิลาทออง จังหวัดกำแพงเพชร เรียนจบหันมาเอาดีทางเกษตรเมินมนุษย์เงินเดือน..มาเป็นมนุษย์เงินดินรายได้ต่อเดือน 2- 3 หมื่นบาท

โพสต์โดย : admin เมื่อ 8 มิ.ย. 2561 17:30:32 น. เข้าชม 370 ครั้ง แจ้งลบ

      เมื่อวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2561 ที่ไร่พานทอง พอเพียง เลขที่ 43 หมู่ที่ 14 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร นายสถิต ภูทิพย์ เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร และคณะประกอบด้วย นายวิวัฒน์ บุษบง รักษาการเกษตรอำเภอปางศิลาทอง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอปางศิลาทอง กลุ่มเกษตรรุ่นใหม่จังหวัดกำแพงเพชร Young Smart Farmer และสื่อมวลชนหลายแขนงของจังหวัดกำแพงเพชร ได้ร่วมกันเยี่ยมชมกิจการไร่พานทอง พอเพียง ของ ว่าที่ ร.ต.วรพล พานทอง อายุ 26 ปี Young Smart Farmer ผู้จบปริญญาตรีด้านการเกษตรจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่ –เฉลิมพระเกียรติ โดยเริ่มทำงานด้านการเกษตร ในพื้นที่ 5 ไร่ ประกอบกิจกรรม แปลงต้นแบบ 1 ไร่ พอเพียง โดยทำกิจกรรมการเกษตรหลายอย่างในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อการเลี้ยงชีพอยู่ได้อย่างพอเพียง,ปลูกมันหวานญี่ปุ่น,ปลูกมะลุกอพันธุ์แขกนวล หรือ มะละกอส้มตำ,เลี้ยงไส้เดือน เพื่อทำปุ๋ยไส้เดือน,เลี้ยงจิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ ทองแดง,ลี้ยงเป็ดไข่ ห่าน เลี้ยงไก่ไข่ในตะกร้า,เป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ และเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านทำการเกษตร ทำให้จากกิจกรรมที่ทำในแต่ละเดือน มีรายได้ เมื่อหักค่าใช้จ่ายที่ลงทุนทำกิจกรรมแล้ว จะคงเหลือ 20,000 – 30,000 บาท Young Smart Farmer ว่าที่ ร.ต.วรพล พานทอง เกษตรกรหนุ่มจากไร่ “พานทอง พอเพียง” อำเภอปางศิลาทออง จังหวัดกำแพงเพชร ให้เหตุผลที่เลือกมาทำการเกษตรหลังจากเรียนจบ ว่า ไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่อยากเป็นมนุษย์เงินดิน,อยากที่จะพัฒนาบ้านเกิดในวัยที่ยังมีแรง มีไฟ และอยากกลับมาอยู่กลับครอบครับ ประกอบด้วย พ่อ แม่ และพี่สาว ของตน ซึ่งเป็นแนวคิดและหลักการปฏิบัติที่ได้จากการเป็น Young Smart Farmer ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อปี 2560 ทำให้มีโอกาสเข้ารับการอบรมต่างๆทั้งในระดับ อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ เกี่ยวกับด้านการทำการเกษตร เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาอาชีพของตนเอง ตลอดจนมีบทบาทเป็นผู้นำในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ได้ประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง Young Smart Farmer ด้วยกันเอง ทำให้มีความรุ้และเทคนิคใหม่ๆเพิ่มขึ้น ทำให้มีเครือข่ายที่เหนียวแน่น และทำให้มีตลาดและเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้ากว้างขึ้น..

ว่าที่ ร.ต.วรพล พานทอง เกษตรกรหนุ่มจากไร่ “พานทอง พอเพียง” อำเภอปางศิลาทออง จังหวัดกำแพงเพชร ยังได้กล่าวถึงรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในไร่ “พานทอง พอเพียง” ว่า การเลี้ยงจิ้งหรีด จะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 33 – 35 วัน ใน 1 กล่อง จะได้จิ้งหรีด 18 – 22 กิโลกรัม ได้กำไรจากการขายจิ้งหรีดต่อกล่องประมาณ 800 – 1,000 บาท นำไปขายในตลาดชุมชน และใกล้เคียง ซึ่งได้เลี้ยงไว้จำนวน 6 กล่อง กิจกรรมเลี้ยงเป็ดไข่ ไก่ไข่ การเลี้ยงไก่ในตะกร้า จะสามารถทำให้คุมเรื่องอาหารและโรคได้ เป็ดไข่ และไก่ จะเป็นรายได้รายวันในครัวเรือน 1 เดือน จะได้กำไร ประมาร 2,000 กว่าบาท ตลาดจำหน่ายในชุมชน ไก่ไข่ 27 ตัว เป็ด 50 ตัว กิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือน โดยใช้มูลของม้าในการเลี้ยงไส้เดือน เลี้ยง 1 เดือน จึงจะเก็บผลผลิตได้ โดยน้ำไส้เดือน จำหน่าย 30 บาท ต่อ ขวด มูลไส้เดือน 30 บาท ต่อ กิโลกรัม ตัวไส้เดือน 1,000 บาท ต่อ กิโลกรัม กิจกรรมปลูกมันเทศญี่ปุ่น ในพื้นที่ 2 ไร่ ปลูกโดยการใช้ยอดเสียบ ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 120 วัน จำหน่ายให้โรงงานราคากิโลกรัมละ 8 – 20 บาท แต่ถ้าส่งตลาด อตก.ที่กรุงเทพฯ ขายส่งในราคากิโลกรัมละ 60 บาท กิจกรรมปลูกมะละกอพันธุ์แขกนวล หรือมะละกอส้มตำ ใช้ระยะเวลาในการปลูก 6 เดือนจึงเก็บผลผลิตได้ขายส่งรถมารับถึงสวน ราคา 3 – 18 บาท ต่อ กิโลกรัม ขายส่งร้านส้มตำในชุมชน 6 บาท ต่อ กิโลกรัม กิจกรรมการเลี้ยงกบ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 4 เดือน จึงเก็บผลผลิตได้ โดยเลี้ยงในกระชังและปล่อยตามธรรมชาติ ให้อาหารโดยการใช้แสงไฟล่อแมลงเป็นอาหาร จับขายส่งให้ร้านในชุมชนกิโลกรัมละ 70 – 100 บาท แล้วแต่ฤดูกาล และกิจกรรมเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาหมอชุมพร เลี้ยงกุ้งฝอย โดยการใช้ขี้จิ้งหรีดเป็นอาหาร ก็จะมีรายได้อีกทางหนึ่ง  ว่าที่ ร.ต.วรพล พานทอง เกษตรกรหนุ่มจากไร่ “พานทอง พอเพียง” นับเป็น Young Smart Farmer ของจังหวัดกำแพงเพชร อีกคนหนึ่ง ที่ร่วมพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีขีดความสามารถด้านการเกษตร สามารถทดแทนเกษตรกรผู้สูงอายุ และร่วมสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดย จะต้องเป็นเกษตรกรผู้มีศักยภาพ สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดสินค้าเกษตร สามารถเป็นผู้นำทางการเกษตร ในท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกระดับได้เป็นอย่างดี.....ชลอ ทองอำไพ //เจ้าของ และบรรณาธิการ นสพ.ศิลาแลงนิวส์//

News Update